MIJ powerd by Japan-Property

บทความประเทศญี่ปุ่น

    ทางลัดขอวีซ่าประเภทลงทุน

    investor visa in Japan

              ชาวต่างชาติจำนวนมาก ต้องการวีซ่าประเภทลงทุนเมื่อพวกเขาซื้ออสังหาริมทรัพย์ในประเทศญี่ปุ่น (หมายถึง วีซ่าประเภทธุรกิจ หรือ Business Manager Visa) แต่ที่ประเทศญี่ปุ่น เพียงแค่การซื้ออสังหาริมทรัพย์ ไม่ได้ทำให้คุณได้วีซ่ามา

              ตั้งแต่มีการแก้กฎระเบียบการตรวจคนเข้าเมืองหลังปี 2019 ทำให้ขั้นตอนในการพิจารณาคัดเลือกคุณสมบัติการเข้าพำนักในประเทศญี่ปุ่นเคร่งครัดขึ้นโดยกองตรวจคนเข้าเมือง การพิจารณาต่ออายุหรือขอวีซ่าประเภทธุรกิจจึงเข้มงวดขึ้น มีการปฏิเสธคำขอหรือใช้เวลาพิจารณายาวนาน เกิดขึ้นบ่อยครั้ง ด้วยเหตุนี้ ในการยื่นขอวีซ่าประเภทธุรกิจ จึงต้องอธิบายหลักเหตุผลโดยประเมินจากสมมติฐานเกี่ยวกับกิจการนั้น ๆ ล่วงหน้า รวมถึงความสมเหตุสมผลของแผนธุรกิจและเหตุผลในการยื่นขอรับวีซ่าโดยละเอียด

    เงื่อนไขสำคัญของวีซ่าประเภทธุรกิจ (Business Manager Visa)

    ในการขอรับวีซ่าประเภทธุรกิจ จำเป็นจะต้องปฏิบัติตามหัวข้อดังต่อไปนี้ให้ครบถ้วน

    1. ต้องมีสถานประกอบกิจการเพื่อดำเนินธุรกิจอย่างอิสระ
    2. ต้องจ้างงานลูกจ้างประจำทำงานเต็มเวลาในประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป หรือ ต้องมีเงินทุน หรือจำนวนเงินลงทุนตั้งแต่ 5 ล้านเยนขึ้นไป
    3. ต้องสามารถอธิบายการบริหารธุรกิจภายใต้กิจการที่มั่นคงและต่อเนื่องโดยแจกแจงผ่านหนังสือแสดงแผนธุรกิจ (เอกสารภาษาญี่ปุ่น)
    4. ในกรณีที่ทำงานในฐานะผู้ดูแลกิจการ (หัวหน้าฝ่าย หรือหัวหน้าสาขา หรือเป็นผู้บริหารที่ได้รับการว่าจ้างซึ่งไม่ใช่บุคคลผู้ร่วมลงทุน) จำเป็นต้องมีประสบการณ์เกี่ยวกับการจัดการหรือการบริหารธุรกิจตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป รวมทั้งจะต้องได้ค่าตอบแทนเท่ากับหรือมากกว่าจำนวนในระดับเดียวกันกับในกรณีที่ชาวญี่ปุ่นทำงาน

              เงื่อนไขสำคัญในแต่ละหัวข้อนั้น มีการจัดวางเกณฑ์ในการพิจารณาธุรกิจเชิงปฏิบัติอย่างละเอียด ดังนั้นถึงแม้คุณจะสามารถปฏิบัติได้ตามปัจจัยภายนอกได้ครบถ้วนแล้ว ก็ไม่ได้หมายความว่าจะได้ผลลัพธ์ที่ราบรื่น ตัวอย่างเช่น ต่อให้คุณมีเงินทุนมากกว่า 5 ล้านเยนและเตรียมสถานประกอบการไว้เรียบร้อยแล้ว ก็ไม่ได้การันตีว่า การปฏิบัติเพียงเท่านี้จะทำให้คุณได้รับการอนุมัติวีซ่าประเภทธุรกิจ

              อย่างไรก็ตาม แม้การขอวีซ่าประเภทธุรกิจจะยากมาก แต่ถ้าเทียบกับการยื่นคำขอหลังจากซื้ออสังหาริมทรัพย์หรือหลังจากก่อตั้งบริษัทหรือสำนักงานสาขาแล้ว จะสามารถยื่นขอวีซ่าได้ง่ายขึ้น

              กรณีตัวอย่าง ลูกค้าชาวไต้หวันช่วงวัย 50 ได้ยื่นคำขอโดยทำตามเงื่อนไขสำคัญตามแบบแผนได้อย่างครบถ้วน (มีเงินทุนมากกว่า 5 ล้านเยนและมีสถานประกอบธุรกิจ) จึงดำเนินการยื่นขอวีซ่าไปเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ปีที่ผ่านมา แต่แม้จะผ่านไปกว่า 7 เดือนหลังยื่นคำขอแล้ว แต่ก็ยังมีการพิจารณาซ้ำหลายครั้ง ซึ่งท้ายที่สุดก็ไม่ได้รับการอนุมัติ

              เมื่อเทียบกับกรณีนี้ ผู้หญิงชาวฮ่องกงช่วงวัย 30 ได้ก่อตั้งบริษัทหลังจากซื้ออาคารห้องชุดและอพาร์ตเมนต์หนึ่งหลังมูลค่ามากกว่า 86 ล้านเยนในโตเกียวและโอซาก้า ทำให้สามารถประเมินรายได้จากค่าเช่าต่อปีได้ราว ๆ 4 ล้านเยนรวมจากอสังหาริมทรัพย์ที่ซื้อไว้ทั้งหมด และบริษัทที่ก่อตั้ง ได้มีการวางแผนธุรกิจนำเข้าและจำหน่ายอุปกรณ์เสริมสมาร์ตโฟน ทำให้สามารถคาดการณ์ยอดขายได้มากกว่าราว ๆ 2 ล้านเยน ในการยื่นขอวีซ่าประเภทธุรกิจ จึงมีการแนบเอกสารแจกแจงรายได้ตลอดทั้งปีประมาณ 6 ล้านเยน และมีการแนบหลักฐานสำเนาทะเบียนบ้านของอสังหาริมทรัพย์ทั้งหมดเพื่อเป็นเอกสารสนับสนุนเพิ่มเติม ผลลัพธ์ก็คือได้รับการอนุมัติวีซ่าประเภทธุรกิจในระยะเวลาประมาณ 47 วันเท่านั้น (หนึ่งเดือนครึ่ง)

              แน่นอนว่าเพียงแค่การซื้ออสังหาริมทรัพย์ ใช่ว่าจะเป็นเครื่องรับประกันที่ทำให้คุณผ่านวีซ่าประเภทธุรกิจได้อย่างแน่นอน และก็ไม่ใช่เพียงแค่การก่อตั้งบริษัทในจำนวนเงินทุน 5 ล้านเยนเท่านั้นด้วย แต่ก็ปฏิเสธข้อเท็จจริงนี้ไม่ได้ว่า คุณจะได้วีซ่าง่ายขึ้นหากคุณเป็นผู้ที่สามารถประเมินได้ว่าจะมีรายได้จากค่าเช่าอย่างแน่นอนจากการซื้ออสังหาริมทรัพย์นั้น ๆ

              ตัวแทนของ MIJ-Japan Property จะแนะนำคุณในเรื่องอสังหาริมทรัพย์ที่มีผลตอบแทนสูงหรืออสังหาริมทรัพย์ที่สามารถทำกำไรอย่างละเอียดที่สุดเท่าที่จะทำได้ และสามารถแนะนำพาร์ทเนอร์ที่ปรึกษาด้านกฎหมายมากประสบการณ์ครอบคลุมตั้งแต่ขั้นตอนการก่อตั้งบริษัทไปจนถึงการยื่นขอวีซ่าประเภทธุรกิจ เราพร้อมดูแลเพื่อให้ลูกค้าได้รับอนุมัติวีซ่าธุรกิจได้ตามที่ปรารถนา

    15 เมษายน 2564

    BACK TO TOP